นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม
นโยบายสิทธิมนุษยชน

quickspace

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พนักงาน ผู้รับเหมา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องตระหนักในการทำงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบโดยปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเคร่งครัด บริษัทฯ จะสนับสนุนให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานและวิธีการทำงานที่ปลอดภัย และ ส่งเสริมกิจกรรมลดความเสี่ยงจากการทำงานที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิต  สุขภาพอนามัย  โรคติดต่อและโรคระบาด บริษัทฯ จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของบริษัท ฯ บริษัท ฯ จะสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมด้านความปลอดภัยต่างๆ และการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดกับพนักงานทุกคนพร้อมทั้งการเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้านความปลอดภัยต่างๆ บริษัทฯ จัดให้มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน วันที่ 21 กันยายน 2565  คุณวินิธา บุญลิขิตชีวะ ( กรรมการผู้จัดการ)  และ  Mr. Andy Hartayo (Director) เข้ารับรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ และประกาศนียบัตรเกียรติคุณโครงการลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ระดับ เงิน จากนายกรัฐมนตรี โดยมีท่านวรานนท์ ปิติวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ เป็นผู้แทนมอบรางวัล ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรุงเทพมหานคร
นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม
นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ของ P.C.GROUP(Corporate Social Responsibility Policy) บริษัทพี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทควิก สเปซ จำกัด และบริษัทโฟลทิลลา เทคโนโลยี จำกัด หรือ P.C.GROUP ตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน จึงได้นำหลักปฏิบัติด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานสากล ISO 26000 ประกอบด้วย 7 หลักการเชิงพฤติกรรม ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม การเคารพต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเคารพต่อหลักนิติธรรม การเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวทางของสากล และการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน มาเป็นกรอบในการดำเนินงานโดยพิจารณาตลอดห่วงโซ่คุณค่า จึงได้กำหนด นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรของ P.C.GROUP ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติงาน ดังนี้ มุ่งมั่นพัฒนาการผลิตและให้บริการตามภารกิจหลักขององค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการ (CSR in Process) และดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR after Process) โดยปฏิบัติตามระบบบริหารจัดการ 7 หัวข้อหลักของมาตรฐานสากล ISO 26000 ประกอบด้วย ธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชนการปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติที่เป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และคำนึงถึงการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานขององค์กร พร้อมกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรทุกระดับ ปฏิบัติงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร สร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ อันจะส่งผลให้การบริหารจัดการประเด็นที่มีสาระสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกิดประสิทธิภาพและบรรลุผลลัพธ์ โดยมุ่งเน้นการใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กรในการสนับสนุนและตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเปิดเผยข้อมูลในการปฏิบัติ ตามแนวทางการรับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยจัดทำรายงานเปิดเผยการดำเนินงาน ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ครอบคลุมการดำเนินการด้านธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย และด้านสังคม รวมถึงจัดทำข้อมูลอย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานขององค์กรและเพิ่มความน่าเชื่อถือของรายงานผลงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้บุคลากรของ P.C.GROUP ต้องยึดถือนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานเพื่อให้ P.C.GROUP ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน (Sustainable Organization)  
นโยบายสิทธิมนุษยชน
บริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ควิก สเปซ จำกัด และบริษัท โฟลทิลลา เทคโนโลยี จำกัด หรือ กลุ่มบริษัท P.C.GROUP มุ่งมั่นในการคำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจ ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีจริยธรรม เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน และให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ที่อาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP จึงได้จัดทำนโยบายสิทธิมนุษยชน โดยยึดมั่นและปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ในการดำเนินธุรกิจ ที่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้นำแนวทางหลักการขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (United Nations Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ข้อตกลงประชาคมโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nation Global Compact: UNGC) รวมถึงหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจ และสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจ ขอบเขต นโยบายฉบับนี้ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP นโยบายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้กับ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP โดยให้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน คํานิยาม สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิด และความเสมอภาคที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใด คู่ค้า หมายถึง ผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้าง และ/หรือผู้ให้บริการ ทั้งที่เป็นนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา แก่กลุ่มบริษัท P.C.GROUP  รวมถึงผู้รับจ้างช่วง ของผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้างและ/หรือผู้ให้บริการดังกล่าว แนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติทางด้านแรงงานทั่วทั้งองค์กร อีกทั้งเสริมสร้างความมั่นใจว่าพนักงานทุกคน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งปฏิบัติต่อพนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม ด้วยเหตุดังกล่าว จึงกำหนดเป็นข้อปฏิบัติสำหรับกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP ไว้ดังนี้ กลุ่มบริษัท P.C.GROUP มีการบริหารจัดการประเด็นเรื่อง สิทธิมนุษยชน ให้แก่ พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และชุมชนที่กลุ่มบริษัท P.C.GROUP ดำเนินการเป็นพิเศษ โดยจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตามกรอบเวลาที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการจัดเตรียมมาตรการในการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และมาตรการเยียวยาตามสมควร โดยได้แบ่งการบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิของพนักงานของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP สิทธิของคู่ค้า สิทธิของลูกค้า สิทธิของชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ สิทธิของพนักงานของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP  ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในทุกกระบวนการของการจ้างงาน ตั้งแต่ขั้นตอนการสรรหา การจ่ายค่าตอบแทน เวลาทำงาน และวันหยุดการมอบหมายงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การฝึกอบรมและพัฒนา การวางแผนความก้าวหน้า และในเรื่องอื่น ๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติ ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งสอดส่องดูแล เรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน และรายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อป้องกันการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ใช้แรงงานบังคับ แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์ หรือแรงงานเด็กอันมิชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการลงโทษเป็นการทารุณร่างกายหรือใจพนักงาน ไม่ว่าด้วยวิธีการขู่เข็ญ การกักขังหน่วงเหนี่ยว การคุกคาม การข่มขู่ การล่วงละเมิดหรือการใช้ความรุนแรง ไม่ว่าในรูปแบบใดตลอดจนให้ความสำคัญต่อสิทธิของกลุ่มผู้เปราะบาง (Vulnerable Group) เช่น ผู้พิการ เป็นต้น ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัย สภาพแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำงาน และมีคู่มือในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย เพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นสภาพการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการเจ็บป่วยของผู้ปฏิบัติงาน สิทธิของคู่ค้า ดำเนินการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้าของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP รวมถึงการระบุ และประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้า ของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP โดยคำนึงถึง สังคมและสิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล รวมถึงเปิดเผยข้อมูลการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้าของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความโปร่งใสในการดำเนินงาน ในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน กลุ่มบริษัท P.C.GROUP คาดหวังว่าคู่ค้า จะมีกระบวนการแก้ไขและกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบ ที่เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเหมาะสม สนับสนุนให้คู่ค้าปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ สำหรับบริษัทคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) และมีการคัดเลือกคู่ค้าที่มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่มีคุณธรรม มีสภาพทางการเงิน ประวัติในการดำเนินธุรกิจที่น่าเชื่อถือ และมีสถานประกอบการที่สามารถตรวจสอบได้ตลอดจนสนับสนุนให้คู่ค้าเคารพและปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP เพื่อดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้พนักงานของคู่ค้าได้รับการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้รับเหมา และปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงาน และคู่มือความปลอดภัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด สิทธิของลูกค้า เคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของลูกค้า โดยรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้า โดยไม่นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งข้อมูลทางด้านการตลาด การสั่งซื้อ และการให้บริการลูกค้า จะถูกเก็บไว้เป็นความลับ และการเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงโดยบุคคลที่ได้รับสิทธิเท่านั้น ทั้งนี้ หากจะใช้เปิดเผย หรือถ่ายโอนข้อมูลดังกล่าวไปยังบุคคลอื่น จะต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย และจะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูลล่วงหน้า ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างครบถ้วน ทันต่อเหตุการณ์ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงต่อลูกค้า รวมทั้งปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีต่อลูกค้าอย่างโปร่งใส และเท่าเทียมกัน สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการของการดำเนินธุรกิจ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ รวมถึงการปลูกจิตสำนึกในเรื่องดังกล่าวให้กับพนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆอาทิ การดำเนินงานตามกฎหมาย มาตรฐาน ระเบียบ และแนวปฏิบัติ การสนับสนุน และให้ความช่วยเหลือในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม อย่างโปร่งใส ผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามความเหมาะสม มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนหรือสังคม โดยให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสังคม และชุมชนโดยเฉพาะชุมชนที่อยู่รอบสถานประกอบการของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP พัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และสังคมให้อยู่ดีมีสุข ควบคู่ไปกับการเติบโตของ บริษัทฯ สิทธิทางการเมือง สิทธิทางการเมือง คือ สิทธิในการลงคะแนนเสียง สิทธิเสรีภาพในความเชื่อทางการเมือง การนับถือศาสนา สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในการชุมนุม ในการรวมตัวกันเป็นสมาคม และการดำเนินการทางการเมือง ในการตีพิมพ์ โฆษณา และการมีส่วนร่วมทางการเมือง บริษัท P.C.GROUP สนับสนุนให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน สามารถใช้สิทธิทางการเมืองของตนได้ตามครรลองของกฎหมาย ในฐานะพลเมืองดี สามารถแสดงออก เข้าร่วม สนับสนุน และใช้สิทธิทางการเมืองนอกเวลาทำงานได้ โดยใช้ทรัพยากรของตนเท่านั้นโดยยึดถือแนวปฏิบัติอ้างอิงประกาศ นโยบายการเป็นกลางทางการเมือง การรับข้อร้องเรียน การคุ้มครองผู้ร้องเรียน และการเยียวยา กลุ่มบริษัท P.C.GROUP เปิดโอกาสให้พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน หากมีเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกี่ยวข้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือจรรยาบรรณ ทั้งจากพนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียน vinita@pctakashima.com, Website, Line group และ Mobile Application, ตู้รับแสดงความคิดเห็น โดยมีการบริหารจัดการข้อร้องเรียนดังกล่าวอย่างเหมาะสม และให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัท P.C.GROUP โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างสูงสุด กรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางกฎหมายแล้วว่ากลุ่มบริษัท P.C.GROUP เป็นผู้กระทำการละเมิดจริง กลุ่มบริษัท P.C.GROUP ได้กำหนดมาตรการชดใช้เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การรักษาพยาบาล การชำระค่าเสียหาย และการติดตามดูแลผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม